เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรือ
AFTA เป็นข้อตกลงทางการค้า
สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
1. ความเป็นมาเขตการค้าเสรีอาเซียน เกิดจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือน มกราคม ค.ศ. 1992 ณ สิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้มีมติเห็นสมควรจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ( AFTA ) ขึ้น ตามข้อเสนอของ นาย อานันท์ ปัณยารชุน นายกรัฐมนตรีของไทยและได้รับการลงนามในกรอบความตกลงขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ตกลงอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน สำหรับอาเซียนและการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้สินค้าอาเซียนในตลาดโลก รวมทั้งจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน2.หลักการของ AFTA• ลดภาษีศุลกากรระหว่ • ยกเลิกมาตรการจำ กัดปริมาณของสินค้า ทันทีที่สินค้านั้นได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีจากสมาชิกอื่น• ยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอื่นๆ• กฎว่าด้วยแหล่งกำ เนิด (Rules of Origins)• หลักการต่างตอบแทน (Reciprocity)
3.วัตถุประสงค์ของ AFTA
• เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรี โดยปราศจากการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรและใช้อัตราภาษีศุลกากรตํ่าที่สุด
• เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน
• เพื่อเสริมสร้างสถานะในการแข่งขันของอาเซียน
• เพื่อรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของโลกที่จะเสรียิ่งขึ้น
4. ปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ AFTAผลกระทบของการเปิดเสรีทำ ให้หลายประเทศเกรงว่าจะทำ ให้เสียเปรียบกับต่างประเทศทางการค้าและการลงทุน แต่สิ่งที่ควรพิจารณาถึงผลกระทบของการเปิดเสรีคือเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ของคนในชาติระหว่างคนจนและคนรวยให้มีความเสมอภาคมากขึ้น ซึ่งในการเปิดเสรีนี้จะมีส่วนช่วยทำ ให้สินค้าของคนจนภายในประเทศส่งออกได้มากขึ้น และช่วยลดการป้องกันอุตสาหกรรมของคนรวยภายในประเทศให้ลดลง อย่างไรก็ตามอุปรรคของความร่วมมือทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ดังต่อไปนี้
• ความแตกต่างในการดำ เนินนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกส่งผลให้เกิดความร่วมมือไม่เต็มที่
• สภาพภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทำ ให้การพึงพาซึ่งกันและกันอยู่ในระดับตํ่า
• ประเทศสมาชิกภายในกลุ่มอาเซียนพยายามที่จะแข่งขันกันในทุกๆ อุตสาหกรรมทำ ให้ไม่ได้ใช้ความชำ นาญเฉพาะอย่างที่ตัวเองถนัด แต่ถ้ามีการเปิดเสรีจะมีผลทำ ให้โครงสร้างเปิดและทำ ในเฉพาะอุตสาหกรรมที่เราถนัด ซึ่งจะทำ ให้เกิดขบวนการเรียนรู้และพัฒนาซึ่งเป็นผลที่ดีต่ออุตสาหกรรมที่ตนเองมีความได้เปรียบมากที่สุด
• จากในอดีตที่อาเซียนมีเศรษฐกิจที่ดี เติบโตเร็ว และมีอำ นาจในการซื้อสูง แต่อาเซียนไม่ได้ใช้อำ นาจที่มีในการต่อรองเกี่ยวกับเปิดเสรีกับประเทศสหรัฐอเมริกาทำ ให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้สูญเสียโอกาสที่ดีไป ในขณะเดียวกันประเทศอาเซียนในเวทีของกลุ่มAPEC ก็ไม่ได้ทำ ให้เกิดผลประโยชน์ในการเจรจาทางการค้าเนื่องจากเกรงว่าประเทศพัฒนาจะเอาเปรียบจึงทำ ให้เสียโอกาสในการเปิดเสรี นอกจากนั้นหากเปิดเสรีก็จะต้องเป็นไปตามความสมัครใจ จึงต้องมีการปรับปรุงการสร้างอำ นาจการต่อรองของ ASEAN
5. ผลกระทบของการจัดตั้งกลุ่ม AFTA • ช่วยเสริมสร้างสถานะการแข่งขัน การนำ เข้าวัตถุดิบในราคาต้นทุนตํ่า การขยายตลาดการผลิตสินค้าที่แต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญและได้เปรียบด้านต้นทุน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศจะทำ ให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต้นทุนที่ตํ่า ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้าสถานะการแข่งขันการส่งออกของอาเซียนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
• การลงทุน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ทำ ให้ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรเกือบ 500 ล้านคน ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและก่อให้เกิดมีการจ้างงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะมีผลนำ ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสูภู่มิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน อันได้แก่ ลาว เวียดนามและพม่า ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรตามธรรมชาติแรงงานมีราคาที่ไม่สูง การเข้ารวมตัวกับอาเซียนของทั้งสามประเทศ จึงเท่ากับเป็นการสร้างศักยภาพในการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนให้กับอาเซียนด้วย
• การขยายการค้า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำ หนดให้ลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งทางด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทั้งสินค้าสำ เร็จรูป สินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ
• การเสริมสร้างอำ นาจการต่อรอง การจัดตั้งเขตการค้าอาเซียนเป็นการแสดงเจตนารมณ์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือภายในกลุ่มแล้วยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย
6. ผลของ AFTA ในอนาคต• ทำ ให้มีการเปิดเสรีทางด้านการเงินในภูมิภาค เพื่อนำ ไปสู่การเชื่อมโยงกันของตลาดเงินและตลาดทุนเพื่อทำ ให้เกิดการปรับปรุงในการสร้างความเข้มแข็งให้กับภูมิภาครวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของภูมิภาคในระยะยาว เพื่อพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่น
• การเร่งสร้างเขตการลงทุน ASEAN Investment Area (AIA) จะทำ ให้การลงทุนของตลาดในภูมิภาคนี้เกิดความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการดึงนักลงทุนไม่ใช่เฉพาะแต่อาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนักลงทุนจากภูมิภาคอื่นๆ ด้วย และทำ ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการพัฒนาภูมิภาคให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีความเข้มแข็งเทียบเท่ากับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างอำ นาจการต่อรองให้มากยิ่งขึ้น
• อาเซียนมีขนาดใหญ่พอที่จะต่อรองผลประโยชน์ในเวทีของกลุ่ม APEC ได้หลายด้าน ถ้าหากร่วมกันเน้นเจรจาในเชิงรุกเช่น
- การนำ เสนอ Common Policy ด้านสิ่งแวดล้อมในเวที APEC เพื่อกดดัน WTOได้
- ร่วมกับเกาหลีและญี่ปุ่นที่ให้โอกาสสนับสนุนอาเซียนในสินค้าการเกษตร เพื่อเพิ่มอำ นาจต่อรองในเวที APEC และใน WTO
3.วัตถุประสงค์ของ AFTA
• เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรี โดยปราศจากการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรและใช้อัตราภาษีศุลกากรตํ่าที่สุด
• เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน
• เพื่อเสริมสร้างสถานะในการแข่งขันของอาเซียน
• เพื่อรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของโลกที่จะเสรียิ่งขึ้น
4. ปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ AFTAผลกระทบของการเปิดเสรีทำ ให้หลายประเทศเกรงว่าจะทำ ให้เสียเปรียบกับต่างประเทศทางการค้าและการลงทุน แต่สิ่งที่ควรพิจารณาถึงผลกระทบของการเปิดเสรีคือเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ของคนในชาติระหว่างคนจนและคนรวยให้มีความเสมอภาคมากขึ้น ซึ่งในการเปิดเสรีนี้จะมีส่วนช่วยทำ ให้สินค้าของคนจนภายในประเทศส่งออกได้มากขึ้น และช่วยลดการป้องกันอุตสาหกรรมของคนรวยภายในประเทศให้ลดลง อย่างไรก็ตามอุปรรคของความร่วมมือทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ดังต่อไปนี้
• ความแตกต่างในการดำ เนินนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกส่งผลให้เกิดความร่วมมือไม่เต็มที่
• สภาพภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทำ ให้การพึงพาซึ่งกันและกันอยู่ในระดับตํ่า
• ประเทศสมาชิกภายในกลุ่มอาเซียนพยายามที่จะแข่งขันกันในทุกๆ อุตสาหกรรมทำ ให้ไม่ได้ใช้ความชำ นาญเฉพาะอย่างที่ตัวเองถนัด แต่ถ้ามีการเปิดเสรีจะมีผลทำ ให้โครงสร้างเปิดและทำ ในเฉพาะอุตสาหกรรมที่เราถนัด ซึ่งจะทำ ให้เกิดขบวนการเรียนรู้และพัฒนาซึ่งเป็นผลที่ดีต่ออุตสาหกรรมที่ตนเองมีความได้เปรียบมากที่สุด
• จากในอดีตที่อาเซียนมีเศรษฐกิจที่ดี เติบโตเร็ว และมีอำ นาจในการซื้อสูง แต่อาเซียนไม่ได้ใช้อำ นาจที่มีในการต่อรองเกี่ยวกับเปิดเสรีกับประเทศสหรัฐอเมริกาทำ ให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้สูญเสียโอกาสที่ดีไป ในขณะเดียวกันประเทศอาเซียนในเวทีของกลุ่มAPEC ก็ไม่ได้ทำ ให้เกิดผลประโยชน์ในการเจรจาทางการค้าเนื่องจากเกรงว่าประเทศพัฒนาจะเอาเปรียบจึงทำ ให้เสียโอกาสในการเปิดเสรี นอกจากนั้นหากเปิดเสรีก็จะต้องเป็นไปตามความสมัครใจ จึงต้องมีการปรับปรุงการสร้างอำ นาจการต่อรองของ ASEAN
5. ผลกระทบของการจัดตั้งกลุ่ม AFTA • ช่วยเสริมสร้างสถานะการแข่งขัน การนำ เข้าวัตถุดิบในราคาต้นทุนตํ่า การขยายตลาดการผลิตสินค้าที่แต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญและได้เปรียบด้านต้นทุน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศจะทำ ให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต้นทุนที่ตํ่า ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้าสถานะการแข่งขันการส่งออกของอาเซียนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
• การลงทุน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ทำ ให้ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรเกือบ 500 ล้านคน ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและก่อให้เกิดมีการจ้างงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะมีผลนำ ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสูภู่มิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน อันได้แก่ ลาว เวียดนามและพม่า ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรตามธรรมชาติแรงงานมีราคาที่ไม่สูง การเข้ารวมตัวกับอาเซียนของทั้งสามประเทศ จึงเท่ากับเป็นการสร้างศักยภาพในการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนให้กับอาเซียนด้วย
• การขยายการค้า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำ หนดให้ลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งทางด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทั้งสินค้าสำ เร็จรูป สินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ
• การเสริมสร้างอำ นาจการต่อรอง การจัดตั้งเขตการค้าอาเซียนเป็นการแสดงเจตนารมณ์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือภายในกลุ่มแล้วยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย
6. ผลของ AFTA ในอนาคต• ทำ ให้มีการเปิดเสรีทางด้านการเงินในภูมิภาค เพื่อนำ ไปสู่การเชื่อมโยงกันของตลาดเงินและตลาดทุนเพื่อทำ ให้เกิดการปรับปรุงในการสร้างความเข้มแข็งให้กับภูมิภาครวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของภูมิภาคในระยะยาว เพื่อพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่น
• การเร่งสร้างเขตการลงทุน ASEAN Investment Area (AIA) จะทำ ให้การลงทุนของตลาดในภูมิภาคนี้เกิดความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการดึงนักลงทุนไม่ใช่เฉพาะแต่อาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนักลงทุนจากภูมิภาคอื่นๆ ด้วย และทำ ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการพัฒนาภูมิภาคให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีความเข้มแข็งเทียบเท่ากับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างอำ นาจการต่อรองให้มากยิ่งขึ้น
• อาเซียนมีขนาดใหญ่พอที่จะต่อรองผลประโยชน์ในเวทีของกลุ่ม APEC ได้หลายด้าน ถ้าหากร่วมกันเน้นเจรจาในเชิงรุกเช่น
- การนำ เสนอ Common Policy ด้านสิ่งแวดล้อมในเวที APEC เพื่อกดดัน WTOได้
- ร่วมกับเกาหลีและญี่ปุ่นที่ให้โอกาสสนับสนุนอาเซียนในสินค้าการเกษตร เพื่อเพิ่มอำ นาจต่อรองในเวที APEC และใน WTO
เเหล่งที่มาเนื้อหามาจากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/aecteera6/home/cud-reimaec/khet-kar-kha-seri-xaseiyn
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น