วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

10 ประเทศ อาเซียน


ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้

1.ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

จุดแข็ง
การเมืองค่อนข้างมั่นคง
รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
ผู้ส่งออกและมีปริมาณสำรองน้ำมันอันดับ 4 ในอาเซียน

ข้อควรรู้
ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ที่ประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์
การทักทายจะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม


2.ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
– มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์

ข้อควรรู้
– ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
– เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
– ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์ นักเลง
– ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
– สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ

3.ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
– มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
– มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ข้อควรรู้
– ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
– นิยมใช้มือกินข้าว
– ไม่ควรชี้นิ้วด้วยนิ้วชี้ แต่ใช้นิ้วโป้งแทน
– ไม่จับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
– การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
– บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
– มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
– งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้

4.ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

จุดแข็ง
– ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
– การเมืองมีเสถียรภาพ

ข้อควรรู้
– ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
– ลาวขับรถทางขวา
– ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
– เดินผ่านผู้ใหญ่ ต้องก้มหัว
– ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
– อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
– ที่ถูกต้องคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
– เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าเขาเสิร์ฟน้ำต้องดื่ม

5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

จุดแข็ง
– มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
– มีปริาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค

ข้อควรรู้
– ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
– มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
– ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
– เครื่องดื่มแอลกฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม


เเหล่งที่มาเนื้อหามาจากเว็บไซต์ http://www.thai-aec.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-10-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8

มารู้จัก อาเซียน +6 ว่าคืออะไร


อาเซียน +6 หรือ FTA ASEAN PLUS 6  คืออะไร จัดตั้งเพื่ออะไร

การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย  ซึ่งจำนวนประชากรทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่ม อาเซียน +6 มีจำนวนมากกว่า 3 พันล้านคน คิดเป็น 50% ของประชากรโลก

การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการรวมกลุ่มอาเซียน +6

การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน +6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78%

 ช่วยปรับปรุง และพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้
1. ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)
2. เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)

3. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก และจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกรรมทางการค้าลง อันเนื่องมาจากกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonized market rules) ดังจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมกลุ่มกันเป็นอาเซียน +6 ก็คือ ผลประโยชน์ทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก

               
เเหล่งที่มาเนื้อหามาจากเว็บไซต์http://www.aeckids.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%81-6-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/





เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)

            เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรือ AFTA เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด

1. ความเป็นมาเขตการค้าเสรีอาเซียน เกิดจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ เมื่อเดือน มกราคม ค.ศ. 1992 ณ สิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้มีมติเห็นสมควรจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ( AFTA ) ขึ้น ตามข้อเสนอของ นาย อานันท์ ปัณยารชุน นายกรัฐมนตรีของไทยและได้รับการลงนามในกรอบความตกลงขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ตกลงอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน สำหรับอาเซียนและการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้สินค้าอาเซียนในตลาดโลก รวมทั้งจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน2.หลักการของ AFTA• ลดภาษีศุลกากรระหว่            • ยกเลิกมาตรการจำ กัดปริมาณของสินค้า ทันทีที่สินค้านั้นได้รับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษีจากสมาชิกอื่น• ยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอื่นๆ• กฎว่าด้วยแหล่งกำ เนิด (Rules of Origins)• หลักการต่างตอบแทน (Reciprocity)        
            3.วัตถุประสงค์ของ AFTA
• เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรี โดยปราศจากการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรและใช้อัตราภาษีศุลกากรตํ่าที่สุด
• เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในภูมิภาคอาเซียน
• เพื่อเสริมสร้างสถานะในการแข่งขันของอาเซียน
• เพื่อรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของโลกที่จะเสรียิ่งขึ้น
            4. ปัญหาและอุปสรรคของความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ AFTAผลกระทบของการเปิดเสรีทำ ให้หลายประเทศเกรงว่าจะทำ ให้เสียเปรียบกับต่างประเทศทางการค้าและการลงทุน แต่สิ่งที่ควรพิจารณาถึงผลกระทบของการเปิดเสรีคือเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ของคนในชาติระหว่างคนจนและคนรวยให้มีความเสมอภาคมากขึ้น ซึ่งในการเปิดเสรีนี้จะมีส่วนช่วยทำ ให้สินค้าของคนจนภายในประเทศส่งออกได้มากขึ้น และช่วยลดการป้องกันอุตสาหกรรมของคนรวยภายในประเทศให้ลดลง อย่างไรก็ตามอุปรรคของความร่วมมือทางเศรษฐกิจยังมีอยู่ดังต่อไปนี้
• ความแตกต่างในการดำ เนินนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิกส่งผลให้เกิดความร่วมมือไม่เต็มที่
• สภาพภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทำ ให้การพึงพาซึ่งกันและกันอยู่ในระดับตํ่า
• ประเทศสมาชิกภายในกลุ่มอาเซียนพยายามที่จะแข่งขันกันในทุกๆ อุตสาหกรรมทำ ให้ไม่ได้ใช้ความชำ นาญเฉพาะอย่างที่ตัวเองถนัด แต่ถ้ามีการเปิดเสรีจะมีผลทำ ให้โครงสร้างเปิดและทำ ในเฉพาะอุตสาหกรรมที่เราถนัด ซึ่งจะทำ ให้เกิดขบวนการเรียนรู้และพัฒนาซึ่งเป็นผลที่ดีต่ออุตสาหกรรมที่ตนเองมีความได้เปรียบมากที่สุด
• จากในอดีตที่อาเซียนมีเศรษฐกิจที่ดี เติบโตเร็ว และมีอำ นาจในการซื้อสูง แต่อาเซียนไม่ได้ใช้อำ นาจที่มีในการต่อรองเกี่ยวกับเปิดเสรีกับประเทศสหรัฐอเมริกาทำ ให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนได้สูญเสียโอกาสที่ดีไป ในขณะเดียวกันประเทศอาเซียนในเวทีของกลุ่มAPEC ก็ไม่ได้ทำ ให้เกิดผลประโยชน์ในการเจรจาทางการค้าเนื่องจากเกรงว่าประเทศพัฒนาจะเอาเปรียบจึงทำ ให้เสียโอกาสในการเปิดเสรี นอกจากนั้นหากเปิดเสรีก็จะต้องเป็นไปตามความสมัครใจ จึงต้องมีการปรับปรุงการสร้างอำ นาจการต่อรองของ ASEAN
            5. ผลกระทบของการจัดตั้งกลุ่ม AFTA              • ช่วยเสริมสร้างสถานะการแข่งขัน การนำ เข้าวัตถุดิบในราคาต้นทุนตํ่า การขยายตลาดการผลิตสินค้าที่แต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญและได้เปรียบด้านต้นทุน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับการลงทุนจากต่างประเทศจะทำ ให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต้นทุนที่ตํ่า ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้าสถานะการแข่งขันการส่งออกของอาเซียนในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
• การลงทุน การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ทำ ให้ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรเกือบ 500 ล้านคน ซึ่งจะเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและก่อให้เกิดมีการจ้างงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งจะมีผลนำ ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสูภู่มิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน อันได้แก่ ลาว เวียดนามและพม่า ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรตามธรรมชาติแรงงานมีราคาที่ไม่สูง การเข้ารวมตัวกับอาเซียนของทั้งสามประเทศ จึงเท่ากับเป็นการสร้างศักยภาพในการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนให้กับอาเซียนด้วย
• การขยายการค้า ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนกำ หนดให้ลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งทางด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทั้งสินค้าสำ เร็จรูป สินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบ
• การเสริมสร้างอำ นาจการต่อรอง การจัดตั้งเขตการค้าอาเซียนเป็นการแสดงเจตนารมณ์การเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือภายในกลุ่มแล้วยังเป็นการเสริมสร้างอำนาจต่อรองในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย
            6. ผลของ AFTA ในอนาคต• ทำ ให้มีการเปิดเสรีทางด้านการเงินในภูมิภาค เพื่อนำ ไปสู่การเชื่อมโยงกันของตลาดเงินและตลาดทุนเพื่อทำ ให้เกิดการปรับปรุงในการสร้างความเข้มแข็งให้กับภูมิภาครวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของภูมิภาคในระยะยาว เพื่อพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่น
• การเร่งสร้างเขตการลงทุน ASEAN Investment Area (AIA) จะทำ ให้การลงทุนของตลาดในภูมิภาคนี้เกิดความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการดึงนักลงทุนไม่ใช่เฉพาะแต่อาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนักลงทุนจากภูมิภาคอื่นๆ ด้วย และทำ ให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการพัฒนาภูมิภาคให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีความเข้มแข็งเทียบเท่ากับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างอำ นาจการต่อรองให้มากยิ่งขึ้น
• อาเซียนมีขนาดใหญ่พอที่จะต่อรองผลประโยชน์ในเวทีของกลุ่ม APEC ได้หลายด้าน ถ้าหากร่วมกันเน้นเจรจาในเชิงรุกเช่น
การนำ เสนอ Common Policy ด้านสิ่งแวดล้อมในเวที APEC เพื่อกดดัน WTOได้
ร่วมกับเกาหลีและญี่ปุ่นที่ให้โอกาสสนับสนุนอาเซียนในสินค้าการเกษตร เพื่อเพิ่มอำ นาจต่อรองในเวที APEC และใน WTO

เเหล่งที่มาเนื้อหามาจากเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/aecteera6/home/cud-reimaec/khet-kar-kha-seri-xaseiyn


อาเซียน +3 (อาเซียน บวกสาม)

กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)

               ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น

               อาเซียน +3   ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

               จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

               สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต



             
  ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552


เเหล่งที่มาเนื้อหามาจากเว็บไซต์ http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean+3.htm

รู้เรื่องอาเซียน

อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่ 
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ

          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน

              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ







แหล่งที่มาเนื้อหามาจากเว็บไซต์ http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm
เเหล่งที่มาวีดีโอจากเว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=EIl8MTYFecw